นี่ใช้อะไรคิด??!! ชาวเน็ตจวกยับ กฟผ.ปิ๊งไอเดีย เก็บเงินคนติดโซล่ารูฟ ซื้อมาก็แพงหูฉี่ แถมผลิตไฟเองไม่เดือดร้อนคนอื่น แล้วนี่มาไง??!! (รายละเอียด)
เพื่อลดค่าไฟ หลายครัวเรือนหันมาผลิตไฟฟ้าใช้เองตอนกลางวัน ซึ่งเจ้าสิ่งที่ผลิตไฟฟ้าให้ก็คือ โซล่าร์รูฟท็อป ซึ่งก็ช่วยลดภาระได้เยอะเลยทีเดียว
ถ้าถามว่า “โซลาร์รูฟท็อป” คืออะไร แปลตรงๆก็คือการเอาแผงโซลาร์เซลล์นำไปติดตั้งบนหลังคานั่นเอง
รองผู้ว่าการนโยบายและแผน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) นายพฤหัส วงศ์ธเนศ เปิดเผยว่า ทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ได้มอบหมายให้ กฟผ.ศึกษาอัตราการเรียกเก็บเงินจากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา(โซลาร์รูฟท็อป)แบบรายเดือน ที่เหมาะสมทั้งกลุ่มบ้านเรือนที่อยู่อาศัยและกลุ่มโรงงาน เพื่อนำเงินมาช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าประชาชนที่ใช้ไฟฟ้าปกติ
ทั้งนี้ กฟผ.ได้ศึกษาตัวอย่างจากประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะมี 50 รัฐ ที่มีดีเบต กันว่าควรเก็บค่าชาร์จไฟฟ้าในส่วนที่ต้องมีการลงทุนเพื่อแบ็คอัพระบบหรือไม่ ซึ่งมีกรณีวิธีการเรียกเก็บเงินที่แตกต่างกันถึง 61 กรณี โดยมีการเสนอเรียกเก็บตั้งแต่ 3-50 เหรียญสหรัฐฯต่อเดือนต่อครัวเรือน แต่โดยเฉลี่ยจะเรียกเก็บประมาณ 3-10 เหรียญสหรัฐต่อเดือน หรือประมาณ 300-400 บาทต่อเดือน
ปัจจุบันมีผู้ผลิตไฟฟ้าโซลาร์รูฟท็อปที่จดแจ้งกับการไฟฟ้ามีประมาณ 100-200 เมกะวัตต์ แต่ที่ไม่ได้จดแจ้งอีกจำนวนมาก โดยหากในอนาคตหากมีการติดตั้งเพิ่มสูงเกินกว่า 2,000 เมกะวัตต์ จะคิดเป็น 15% ของไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งความต้องการใช้ไฟฟ้าที่หายไปในส่วนนี้ ในตอนกลางวัน จะกลับมาในตอนกลางคืน ที่คนกลุ่มนี้ กลับมาซื้อไฟฟ้าใช้จากระบบตามปกติ ทำให้กฟผ.ยังต้องลงทุนระบบแบคอัพ ไฟฟ้าไว้ในช่วงเวลากลางคืน ทำให้ภาระต้นทุนไปอยู่กับผู้ใช้ไฟฟ้าปกติ เพราะตัวหารลดลง
หลายคนยอมเสียเงินติดตั้งเพื่อลดค่าไฟ แต่ไหงยังต้องจ่ายกันอยู่ละเนี่ย!
หลังจากเรื่องนี้เผยแพร่ออกไป ชาวเน็ตหลายคนต่างเข้ามาแสดงความเห็นมากมาย
